วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

ขยะล้นหาดบางแสน

ฝึกกิจกรรมทักษะ
เรื่อง ทักษะการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์

สถานการณ์ : ปัญหาขยะล้นหาดบางแสน รัฐหรือชาวบ้านเป็นผู้แก้ไข



กลุ่มผู้ให้ข้อมูล

ประชาชน นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการกิจการต่างๆ และพ่อค้าแม่ค้า บริเวณชายหาดบางแสน




ประเด็นจากการสัมภาษณ์
นางบุญเติม ศรีเจริญ (แม่ค้าขายส้มตำ)
ประเด็นที่ได้จากการสัมภาษณ์ คือ นางบุญเติมกล่าวว่า หาดบางแสนขยะส่วนใหญ่เป็นขยะประเภท - พลาสติก โฟม ขวดแก้ว รวมถึงเศษไม้ต่างๆ จากการทำประมง
มีมากบริเวณ - ริมชายหาด ในน้ำ รวมถึงรอบๆโคนต้นมะพร้าว
ขยะจะมีมากในช่วง - วันหยุดเสาร์ –อาทิตย์ และเทศกาลต่างๆ
เหตุที่ขยะล้นหาดบางแสนเกิดจาก - นักท่องเที่ยวไร้สำนึก ไม่คิด และมักง่าย ทิ้งขยะไม่เป็นที่ทั้งๆ ที่มีถังขยะไว้ให้ทิ้ง
วิธีแก้ไขคือ - พ่อค้าแม่ค้าจะต้องเป็นคนช่วยกันเก็บไปทิ้งหรือเก็บเป็นของเก่าไปขาย
ขยะส่วนใหญ่เกิดขึ้นจาก - ประชาชน พ่อค้าแม่ค้าบางคน และชาวประมง



ประเด็นจากการสัมภาษณ์
นายเฉลิมชัย ทัพรัตน์ (พนักงานร้านอาหาร)
ประเด็นที่ได้จากการสัมภาษณ์ คือ นายเฉลิมชัย กล่าวว่า หาดบางแสนขยะส่วนใหญ่เป็นขยะประเภท - ขวดเหล้า เชือก เศษอวน ถุงขนม โฟม
มีมากบริเวณ - ริมชายหาด ในน้ำ และบริเวณริมถนนบนฟุตบาร์ท
ขยะจะมีมากในช่วง -วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และเทศกาลต่างๆ โดยเฉพาะเวลากลางคืน
เหตุที่ขยะล้นหาดบางแสนเกิดจาก - นักท่องเที่ยวเห็นแก่ตัว มักง่าย ไม่ทิ้งขยะให้เป็นที่ทั้งๆที่เค้ามีถังขยะไว้ให้
วิธีแก้ไขคือ - ติดป้ายเตือน รวมถึงช่วยเก็บไปทิ้งถ้าทำได้
ขยะส่วนใหญ่เกิดขึ้นจาก - นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยว




ประเด็นจากการสัมภาษณ์
เด็กหญิงแพรเพชร พวงทอง (นักเรียนชั้นป.3 ลูกแม่ค้าขายหมึกย่าง)
ประเด็นที่ได้จากการสัมภาษณ์ คือ เด็กหญิงแพรเพชร กล่าวว่า หาดบางแสนขยะส่วนใหญ่เป็นขยะประเภท - ขวดน้ำ ถุงขนม เศษแก้ว
มีมากบริเวณ - ริมชายหาด ในน้ำ
ขยะจะมีมากในช่วง - เวลากลางวัน
เหตุที่ขยะล้นหาดบางแสนเกิดจาก - นักท่องเที่ยวไม่ยอมเอาขยะไปทิ้งถังขยะ ชอบทิ้งส่ง
วิธีแก้ไขคือ - หนูกับแม่จะช่วยเก็บขยะที่ขายได้ไปขายตอนแม่ขายของเสร็จ แล้วเอาเงินไปซื้อขนม
ขยะส่วนใหญ่เกิดขึ้นจาก - คนที่มานั่งกินอาหาร และคนที่มาเล่นน้ำ



ประเด็นจากการสัมภาษณ์
นาย มงคล เกิดแสง (นิสิต ม.บูรพา )
ประเด็นที่ได้จากการสัมภาษณ์ คือ นาย มงคล กล่าวว่า จากการที่ได้มาเที่ยวพักผ่อนประจำ หาดบางแสนขยะส่วนใหญ่เป็นขยะประเภท - พลาสติก ขวดแก้ว ซากสัตว์ทะเล
มีมากบริเวณ - ริมชายหาด ในน้ำ และบริเวณริมถนนบนฟุตบาร์ท โคนต้นไม้ ในซอกหินริมชายหาด แม้แต่ในตะกร้ารถจักรยานยนต์ที่จอดอยู่ก็มีขยะ
ขยะจะมีมาก - ในช่วงวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ และเทศกาลต่างๆ โดยเฉพาะเวลากลางคืน
เหตุที่ขยะล้นหาดบางแสนเกิดจาก - นักท่องเที่ยวคงจะมึนเมา ทิ้งขยะเพราะส่วนใหญ่มีแต่ขวดเหล้า เบียร์ และมักง่าย ไม่ทิ้งขยะในถังขยะ
วิธีแก้ไขคือ - ติดป้ายรณรงค์ และให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจัดหาถังขยะมาตั้งไว้เยอะๆ
ขยะส่วนใหญ่เกิดขึ้นจาก - นักท่องเที่ยว และ พ่อค้าแม่ค้าบางคน



ประเด็นจากการสัมภาษณ์
นายพิชัย คงเจริญ (พ่อค้าขายลูกชิ้นทอด)
ประเด็นที่ได้จากการสัมภาษณ์ คือ นายพิชัย กล่าวว่า หาดบางแสนขยะส่วนใหญ่เป็นขยะประเภท - ขวดเหล้า เบียร์ แก้วน้ำ ถุงพลาสติก กล่องโฟมต่างๆ
มีมากบริเวณ - ริมชายหาด ในน้ำ และบริเวณฟุตบาร์ท โคนเสาไฟฟ้า โคนต้นมะพร้าว และใต้เตียงผ้าใบที่ปู
ขยะจะมีมากในช่วง - วันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ และเทศกาลต่างๆ ทั้งเวลากลางวันและเวลากลางคืน
เหตุที่ขยะล้นหาดบางแสนเกิดจาก - นักท่องเที่ยวชอบทิ้งขยะส่ง ไม่เป็นที่ ถังขยะอยู่แค่เนี้ยก็เอาไปทิ้งไม่ได้มักง่ายจริงๆ
วิธีแก้ไขคือ - ติดป้ายเตือนและปรับเป็นเงินให้หลายๆบาท ถ้าผู้ใดทิ้งขยะ จะได้ไม่มีใครกล้าทิ้งขยะส่ง
ขยะส่วนใหญ่เกิดขึ้นจาก - นักท่องเที่ยวนี่แหล่ะ

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552

การกินอาหาร










คำแนะนำเรืองการรับประทานอาหารอย่างปลอดภัย
ล้างมือ อาหาร ผลไม้ทุกครั้ง
เวลาไปวื้อาหาร ให้แยกอาหารที่พร้อมรับประทานออกจากอาหารสด
ปรุงอาหารให้สุก
อาหารที่แช่เย็นหรือแช่แข็งต้องทำละลายก่อนไปปรุงอาหาร
หลีกเลียงอาหารสุกๆดิบๆ นมที่ไม่ได้มีการฆ่าเชื้อโรค ไข่ดิบ
แนวทางการรับประทานอาหารร่วมกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคต่าง
หากใช้เกณฑ์การรับประทานอาหารใหม่จะต้องปรับอาหารอย่างไร
ปริมาณวิตามินที่ควรจะรับประทานในแต่ละอายุ
เกณฑ์อาหารสุขภาพใหม่ของอเมริกาเพิ่งจะประกาศ การทำเกณฑ์ใหม่จะอาศัยของมูลทางวิชาการซึ่งมีหลักฐานสนับสนุน เกณฑ์ใหม่นี้จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ และจะลงรายละเอียดถึงปริมาณสารอาหารรวมทั้งเกลือแร่ มีการศึกษาพบว่าลำพังการรับประทานอาหารให้ถูกต้องจะลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ร้อยละ 16 และ9สำหรับชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 45 ปีการเปลี่ยงแปลงมีดังนี้ี้
ปริมาณผลไม้จะต้องมีการเพิ่มปริมาณที่รับประทานอีกร้อละ 100-150 เพิ่ม .8-1.2 ถ้วยตวง
ต้องมีการเพิ่มปริมาณผักอีกร้อยละ 50 เพิ่ม0.9 ถ้วยตวง
ต้องดื่มนมเพิ่มอีกร้อยละ 50-100 เพิ่ม 1.2-1.6 ถ้วงตวง
เนื้อสัตว์ลดลงร้อยละ10 เนื้อสัตว์ลดลง 1.4 oz
ลดอาหารไขมันลงร้อยละ10 ลดลง 4.2 กรัม
เพิ่มผักใบเขียวประมาณ ครึ่งถ้วยตวง
เพิ่มส้ม 0.2 ถ้วงตวง
เพิ่มอาหารจำพวกถั่ว 0.3 ถั่วตวง
เพิ่มธัญพืช 2.2 oz
ลดไขมัน 18-27 กรัม
ลดน้ำตาล 14-18 ช้อนชา

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

รู้ลึก รู้จริง เรื่อง…การออกกำลังกาย


ประเภทของการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายมีอยู่ 3 ประเภทหลัก การเรียนรู้หลักและวิธีออกกำลังกายที่ถูกต้อง จะทำให้คุณได้รับประโยชน์สูงสุดตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการออกกำลังกาย แต่โดยทั่วไปควรฝึกทั้ง 3 ประเภท
1. การออกกำลังกายที่ช่วยบริหารปอดและหัวใจให้แข็งแรงหรือการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ใช้อากาศที่หายใจเป็นพลังงานเคลื่อนไหวร่างกายได้แก่ การเดินจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เต้นแอโรบิค ฯลฯ ประโยชน์หลักคือช่วยพัฒนาระบบการหายใจและการไหลเวียนเลือด จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ
2. การบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง อดทน เป็นการออกกำลังกายที่ใช้แรงต้าน ซึ่งอาจมาจากอุปกรณ์หรือน้ำหนักตัวของเราเอง เช่น การยกเวต การซิตอัพ การวิดพื้น การบริหารเพื่อลดกระชับสัดส่วน ฯลฯ มีประโยชน์ช่วยพัฒนาระบบประสาท การรับรู้สั่งงานของกล้ามเนื้อ ความหนาแน่นของมวลกระดูก ทำให้รูปร่างฟิตและเฟิร์มและช่วยในเรื่องบุคคลิกภาพ
3. การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุนของกล้ามเนื้อและข้อต่อ เช่นการยืดเหยียด การฝึกโยคะ พิลาทิส ฯลฯ ช่วยเพิ่มระยะการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ป้องกันข้อต่อติดและการเสื่อมสภาพของข้อต่อ

กฎ 4 ข้อที่ต้องปฎิบัติสำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย
1. วอร์มอัพ ประมาณ 5 นาทีก่อนออกกำลังกาย ด้วยการเดิน วิ่งเหยาะ ๆ ปั่นจักรยาน ฯลฯ เพื่อกระตุ้นให้ระบบต่าง ๆในร่างกายได้แก่ ระบบหายใจ กล้ามเนื้อ ฮอร์โมนและระบบประสาทต่าง ๆรวมถึงจิตใจ พร้อมสำหรับการเคลื่อนไหวในระดับที่มากกว่าปกติ
2. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆค้างไว้ส่วนละ 30 นาที เพื่อเป็นการเตรียมข้อต่อและกล้ามเนื้อให้พร้อมในการเคลื่อนไหวในทิศทางและรูปแบบต่าง ๆ
3. ฝึกฝนทักษะการออกกำลังกาย เป็นการเรียนรู้ทักษะการออกกำลังกายให้ถูกต้องเพื่อให้เกิดผลสูงสุด มักสัมพันธ์กับระดับความฟิตของร่างกายที่ต้องการ เช่น ท่าที่ถูกต้องทำอย่างไร ต้องทำกี่เซต เซตละกี่ครั้งและหยุดพักกี่นาที ฯลฯ
4. คูลดาวน์ ประมาณ 5 นาทีหลังจบการออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้ระบบต่าง ๆในร่างกายค่อย ๆกลับคืนสู่ภาวะปกติ และช่วยขับของเสียที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อและกระแสเลือดระหว่างออกกำลังกาย ทำโดยลดระดับความหนักในการออกกำลังกายให้ช้าลงจนถึงระดับปกติ เช่น เดิน หรือปั่นจักรยานให้ช้าลง ผลที่ได้คือร่างกายสดชื่น ฟื้นตัวเร็วขึ้น อาการเมื่อยล้าระบมจะหายไป หลังคูลดาวน์ควรตามด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนที่บริหารค้างไว้ส่วนละ 10 –30 วินาที

ข้อมูลจาก…คลับฟิตเน่



หลักและวิธีการออกกำลังกาย



การออกกำลังกายมีหลักและวิธีการที่เป็นสากล ดังนี้
ปริมาณความหนัก ความนาน และความบ่อยในการออกกำลังกาย
ในการออกกำลังกายแต่ละครั้งถ้าต้องการให้ได้ประโยชน์สูงสุด ผู้ออกกำลังกายควรมีหลักปฏิบัติเพื่อความพอเหมาะพอดี คือ
1. ความหนักของการออกกำลังกาย ผู้ออกกำลังกายมีความจำเป็นจะต้องทราบว่าควรออกกำลังกายเท่าใด จึงจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและได้ผลดีที่สุด โดยปกติเราจะใช้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นตัววัดความหนักของงาน ถ้าเป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ อัตราการเต้นของหัวใจของผู้ออกกำลังกายควรอยู่ในอัตรา 70–80 % ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด โดยอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดมีสูตรในการคำนวณดังต่อไปนี้

ชีพจรสูงสุด = (220 – อายุปี) X (70 – 80 %)/100

ตัวอย่าง จิรสิน อายุ 20 ปี อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดในการออกกำลังกาย คือ

(220 – 20) X (70 – 80 %)/100
= 200 X (70 – 80 % ) /100
=140 – 160 ครั้ง / นาที

2. ความนานของการออกกำลังกาย ในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแต่ละครั้ง โดยทั่ว ๆ ไปควรใช้เวลาอย่างน้อย 20 –30 นาที (แต่สำหรับผู้ที่เป็นนักกีฬาควรเพิ่มเวลาให้นานขึ้น) โดยให้อัตราการเต้นของหัวใจคงที่ (ตามการคำนวณได้ในข้อ 1 ) ไปตลอดเวลานั้น และควรออกกำลังกายเป็นเวลาเดียวกันทุกครั้ง
3. ความบ่อยของการออกกำลังกาย ความเหมาะสมในการออกกำลังกายในหนึ่งสัปดาห์นั้น ควรออกกำลังกายไม่น้อยกว่า 3 วัน และไม่เกิน 6 วัน และควรมีวันพักผ่อนสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 1 วัน

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพคืออะไร

คือ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่ม หรือคงไว้ซึ่งความทนทานของระบบไหลเวียนโลหิตและปอด โดยมีขบวนการใช้ออกซิเจน ในขบวนการเผาผลาญ เพื่อให้เกิดพลังงานสำหรับการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง จึงมีชื่อเรียกการออกกำลังกายชนิดนี้ว่า AEROBIC EXERCISE
ประโยชน์ต่อสุขภาพ1. ระบบไหลเวียนโลหิต1.1 ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงมากขึ้น สามารถสูบฉีดโลหิตได้ปริมาณ มากขึ้น1.2 เพิ่มหลอดโลหิตฝอยมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น1.3 ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ทั้งในขณะพัก และออกกำลังกาย ทำให้ไม่ เหนื่อยง่าย1.4 ลดแรงต้านทานส่วนปลายของหลอดโลหิตฝอยทำให้ความดันโลหิตลดลง ทั้งขณะพัก และออกกำลังกายลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิต สูง2. ระบบหายใจ2.1 ความจุปอดเพิ่มขึ้น ทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนมากขึ้น2.2 เพิ่มปริมาณโลหิตไปสู่ปอด ทำให้การไหลเวียนของปอดดีขึ้น2.3 เพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอด ทำให้ประสิทธิภาพการ หายใจดีขึ้น3. ระบบชีวเคมีในเลือด3.1 ลดปริมาณคอเลสเตอรอล (Cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) จึงลดอัตราเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และ โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน3.2 เพิ่ม HDL Cholesterol ซึ่งช่วยลดการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน3.3 ลดน้ำตาลส่วนเกินในเลือด เป็นการช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
4. ระบบประสาทและจิตใจ4.1 ลดความวิตกกังวลและคลายความเครียด4.2 มีความสุขและรู้สึกสบายใจจากสาร Endorphin ที่หลั่งออกมาจาก สมองขณะออกกำลังกาย
ขั้นตอนและหลักในการปฏิบัติถ้ามีอายุมากกว่า 35 ปี ควรตรวจสุขภาพ ว่ามีโรคหัวใจหรือไม่ก่อนการออกกำลังกายชนิดนี้ ควรรู้วิธีเหยียดและยืดกล้ามเนื้อ รวมทั้งอุ่นเครื่อง (Warm up) และเบาเครื่อง (Cool down) หลักในการปฏิบัติ เป็นการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างน้อย 1 ใน 6 ส่วนของร่างกาย ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ
คำศัพท์Frequency (F) หมายถึงความถี่ในการออกกำลังกายใน 1 สัปดาห์ อย่างน้อย 3 วัน อย่างมาก 6 วันIntensity (I) หมายถึงความหนักในการออกกำลังกาย ใช้อัตราการเต้นของชีพจรเป็นเกณฑ์ ให้ได้ประมาณระหว่างร้อยละ 70-90 ของอัตราเต้นสูงสุดของหัวใจ ซึ่งสามารถคำนวนได้จากการนำอายุไปลบออกจากเลข 220ตัวอย่างเช่น ชายอายุ 20 ปี จะใช้ความหนักในการออกกำลังกายชนิดนี้เท่าใดคำตอบคือ (220-20)x 70 ถึง 90 หาร 100 เท่ากับ 140 ถึง 180 ครั้งต่อนาทีTime (T) หมายถึง ช่วงเวลาในการออกกำลังกายในแต่ละวัน อย่างน้อย 10-15 นาที ใน 6 วัน อย่างมาก 30-45 นาทีใน 3 วัน
รูปแบบการออกกำลังกายมีหลากหลายชนิดเช่น วิ่งเหยาะ, เดินเร็ว, ขี่จักรยาน, ว่ายน้ำ, เต้นแอโรบิค, ฟุตบอล, บาสเก็ตบอล, เทนนิส, แบดมินตัน, ตระกร้อข้ามตาข่าย, วอลเลย์บอล เป็นต้น
ข้อควรระวังควรงดการออกกำลังกาย ในขณะเจ็บป่วย มีไข้ พักผ่อนไม่พอควรออกกำลังกายก่อนอาหารหรือหลังอาหารหนักผ่านไป 3-4 ชั่วโมง และดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ควรหลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่ร้อนจัด หนาวจัด ฝนฟ้าคะนอง มลภาวะมากสวมเสื้อผ้าที่เหมาะสมควรพักหากมีอาการแน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน และไปพบแพทย์